Page 37 - CAT Magazine
P. 37
dIGITAL dELIGHT / 37
รูปแบบการนำ ไปใช้งาน
ดร.ณัฏฐวิทย์ สุฤทธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารไร้สาย
CAT เปิดเผยว่า “CAT ได้น�าระบบเครือข่ายไร้สายส�าหรับ IoT ด้วย
เทคโนโลยี LoRa มาระยะหนึ่งแล้ว โดยน�ามาใช้งานทั้งในกรุงเทพฯ และ
ภูเก็ต ส�าหรับในกรุงเทพฯ นั้นมีการน�ามาใช้ใน 2 พื้นที่ ได้แก่ บริเวณ
ท้องสนามหลวง ในระหว่างการถวายบังคมพระบรมศพพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อประยุกต์ใช้เป็นระบบติดตามเด็กและ
คนชรา ป้องกันการพลัดหลง อีกหนึ่งพื้นที่คือภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยน�าร่องการติดตั้งเครื่องเซ็นเซอร์ส�าหรับการตรวจวัดคุณภาพทางอากาศ
ได้แบบเรียลไทม์”
นอกจากนี้ CAT ยังได้ท�าการติดตั้งแพลตฟอร์มส�าหรับการพัฒนาแอปพลิเคชัน
และบริการด้าน IoT (IoT Service and Application Development
Platform) ที่รองรับการท�างานร่วมกับโครงข่าย LoRaWAN และโครงข่าย
อื่นๆ เช่น 3G, 4G ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้อาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจ
สามารถพัฒนา IoT Application ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดย CAT
จะร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในการพัฒนาบริการ IoT ต่างๆ
บนโครงข่ายและแพลตฟอร์มดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ระบบแจ้งเตือนกรณี
เด็กติดอยู่ในรถโรงเรียน ซึ่งจะมีการพัฒนาอุปกรณ์เพื่อตรวจจับว่ามีเด็ก
ติดอยู่ในรถหรือไม่ หลังจากที่เครื่องยนต์ดับ และหากตรวจพบ จะท�าการ
แจ้งเตือนผ่านโครงข่าย LoRaWAN (หรือโครงข่ายอื่นๆ) ไปยังอาจารย์หรือ
ผู้ที่ก�าหนดไว้ ทันทีเพื่อให้สามารถมาช่วยเด็กได้ทันเวลา โดยความร่วมมือ
ดังกล่าวจะร่วมสร้างสังคมไทยก้าวสู่สมาร์ทซิตี้และเพิ่มคุณภาพชีวิตของ
คนไทยในอนาคต
ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้น CAT มีการน�าไปใช้งานหลากหลายไม่ว่าจะเป็น
ระบบติดตามยานพาหนะส�าหรับผู้ประกอบการธุรกิจรถเช่า ระบบติดตาม
นักท่องเที่ยว ระบบติดตามรถเก็บขยะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังจะมีการขยาย
ต่อยอดไปในอนาคตสู่ระบบ Smart Metering หรือมิเตอร์อัจฉริยะ ไปจนถึง
Smart Street Lighting หรือไฟถนนอัจฉริยะ ที่สามารถเปิดปิดได้อัตโนมัติ
ตามสภาวะการใช้งาน
นอกจากนี้ CAT ยังมีการเปิดให้พร้อมพรีออเดอร์ LoRa IoT by CAT Start Kit
เพื่อน�าไปพัฒนาต่อยอด สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Loraiot.
cattelecom.com
CAT MAGAZINE